จีนเตรียมสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกในทิเบต

จีนอนุมัติการก่อสร้างเขื่อนพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นโครงการอันทะเยอทะยาน บนขอบด้านตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคน ในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำ เช่นในอินเดียและบังกลาเทศ
เขื่อนที่ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำยาร์ลุงจางโป สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 300,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ตามการประมาณการของบริษัทพลังงานจีน ซึ่งนั่นจะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าของความจุที่ออกแบบไว้ 88,200 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงของเขื่อนสามผา ซึ่งปัจจุบันเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในจีนตอนกลาง
โครงการดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญ ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสูงสุด และ ความเป็นกลางทางคาร์บอนของจีน กระตุ้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรม และสร้างงานในทิเบต
ส่วนหนึ่งของแม่น้ำ “ยาหลุง จางป๋อ” มีความสูงตระหง่านถึง 2,000 เมตร [6,561 ฟุต] โดยแม่น้ำมีระยะทางสั้นๆ เพียง 50 กิโลเมตร แต่ก็นับเป็นแหล่งพลังงานน้ำมหาศาล แต่ก็มีความท้าทายทางวิศวกรรมที่ไม่ซ้ำใคร คาดว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างเขื่อน ซึ่งรวมถึงค่าวิศวกรรมที่จะสูงกว่าเขื่อนสามผา คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 254,200 ล้านหยวน ซึ่งรวมถึงค่าจัดการให้ผู้คน 1.4 ล้านคน ต้องอพยพออกไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 57,000 ล้านหยวน
น้ำในแม่น้ำ “ยาหลุง จางป๋อ” จะกลายเป็นแม่น้ำพรหมบุตร เมื่อออกจากทิเบตและไหลลงใต้สู่รัฐอรุณาจัลประเทศและรัฐอัสสัมของอินเดีย และ สุดท้ายจะไหลลงสู่ประเทศบังกลาเทศ
เจ้าหน้าที่จีน กล่าวว่า “โครงการพลังงานน้ำในทิเบต เราเชื่อว่ามีศักยภาพผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ได้มากกว่า 1 ใน 3 ของจีน ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบร้ายแรง ต่อสิ่งแวดล้อมหรือแหล่งน้ำปลายน้ำแน่นอน!!”
อย่างไรก็ตาม อินเดียและบังกลาเทศได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเขื่อน โดยโครงการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่ระบบนิเวศในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการไหลและเส้นทางของแม่น้ำบริเวณท้ายน้ำอีกด้วย และ หวั่นว่าหากจีนปิดเขื่อนไม่ให้น้ำไหลออกมา จะไม่มีน้ำใช้เหมือนที่พม่าหรือไทยโดน